วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปรากฏการณ์ Sun Dogs

              Sun Dogs เป็นปรากฏการณ์ทางแสงอย่างหนึ่ง มักเกิดเป็นคู่ อยู่ด้านซ้าย-ขวา ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ ขนานกับพื้นดิน  Sun Dogs อาจปรากฏเป็นจุดสว่างบนฮาโล หรืออาจมีรูปร่างคล้ายกับดาวหางก็ได้   Sun Dogs อาจมีสีรุ้งได้ โดยที่สีแดงจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ และสีฟ้าขาวปรากฏในส่วนหาง              Sun Dogs เกิดจาการหักเห และการสะท้อนของแสงอาทิตย์ กับผลึกน้ำแข็งแท่ง 6 เหลี่ยมภายในเมฆเซอรัส (cirrus) หรือ เซอโรสตราตัส (cirrostratus) เมฆน้ำแข็งอื่นๆ เช่น ice fog และ diamond dust ก็สามารถทำให้เกิด  Sun Dogs ได้เช่นกัน                Sun Dogs มักเกิดเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับขอบฟ้า คือหลังพระอาทิตย์ขึ้น หรือ ก่อนพระอาทิตย์ตก หรือในช่วงเดือนในฤดูหนาวในเขต mid-latitudes โดยจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นมุม 22 องศา และจะปรากฏบนวงของฮาโลถ้าเกิดปรากฏการณ์ฮาโล เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในมุมที่สูงขึ้น   Sun Dogs จะเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์ แต่จะยังรักษาตำแหน่งอยู่ในแนวระนาบเดียวกับดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่เกิน 45 องศา เหนือขอบฟ้า ซันด๊อกจะจางลง และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า 22 องศา   Sun Dogs จะหายไป เมื่อดวงอาทิตย์อยู่สูงกว่าขอบฟ้าเกิน 61 องศา                Sun Dogs มักเกิดร่วมกับฮาโล ฮาโลจะเกิดในกรณีที่ผลึกน้ำแข็งมีการเรียงตัวในลักษณะผสม ส่วน  Sun Dogs จะเกิดในกรณีที่ผลึกน้ำแข็งมีการเรียงตัวในแนวระนาบ (เราจะเห็นเฉพาะ  Sun Dogs เท่านั้น ถ้ามีแต่ผลึกน้ำแข็งในแนวระนาบ)
                Parhelion เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Sun Dog ซึ่งแปลว่า "ข้างดวงอาทิตย์"
                ปรากฏการณ์นี้ หากเกิดกับดวงจันทร์ จะเรียกว่า "มูนด๊อก" (Moon Dog) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paraselene หรือ Paraselenae (พหูพจน์ของ paraselene) มูนด๊อกจะหาดูได้ยากกว่า และจะเกิดได้เมื่อดวงจันทร์มีความสว่างมากเท่านั้น
  Sun Dogs จะพบได้ง่ายในเขตหนาว เช่น ทวีปแอนตาร์คติค และ ทวีปอาร์คติค แต่ก็เกิดได้ในเขตร้อนเช่นกัน แม้แต่ในประเทศไทย





              อ้างอิง
                       ข้อมูล       http://variety.thaiza.com/Sun-Dog-
                        ภาพถ่าย http://jimmysoftwareblog.com/node/1633


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น