ท่าปอมคลองสองน้ำ กระบี่ บริเวณท่าปอม
สายน้ำจืดซึ่งเป็นธารน้ำพุใสสะอาดจากใต้ดิน
ไหลรินผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตามช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง
และยังมีน้ำเค็มท่วมถึงยามน้ำขึ้น
มีผืนป่ารอบข้างที่มีทั้งป่าชายเลนซึ่งเป็นป่าที่เติบโตอยู่
ในน้ำกร่อยและน้ำเค็มผสมผสานกับป่าพรุน้ำจืด คลองท่าปอมจึงกลายเป็นคลองสองน้ำ
(น้ำจืด+น้ำเค็ม)
ปัจจุบันสำนักงานการท่องเที่ยวจึงจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร ลักษณะเป็นสะพานไม้ที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
ทอดยาวเป็นวงรอบเหนือผืนป่าพรุและป่าชายเลน ท่าปอมคลองสองน้ำ มีลำคลองน้ำใส
ต้นน้ำจากเขาคราม ไหลผ่าน ป่าดิบชื้น ป่าพรุ ป่าชายเลน และทะเลอันดามัน
ท่าปอมคลองสองน้ำ ป่าพรุท่าปอม
คลองท่าปอม เป็นชื่อของลำธารสายสั้นๆ
ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ในต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่
มีต้นกำเนิดหรือต้นน้ำจากแอ่งน้ำผุดบนช่องพระแก้วไหลผ่านสระน้ำกลางป่า
ปลายทางของคลองนี้จะไหลออกสู่ทะเลอันดามัน
โดยคลองท่าปอมอยู่บริเวณรอยต่อของน้ำจืดกับน้ำเค็มพอดี จนกลายเป็นคลองน้ำจืดสนิท
ยามน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น น้ำในคลองที่จืดสนิทจะกลายเป็นน้ำกร่อย น้ำจะขุ่น
ปลาทะเลจะเข้ามาหาอาหารในคลอง ครั้นพอน้ำลงน้ำจืดจากป่าต้นน้ำก็จะดันออกน้ำทะเลออกหมด
รวมทั้งเหล่าปลาทั้งหลายก็จะแหวกว่ายกลับไปอีกครั้ง น้ำในคลองจะใสราวกระจก
มองดูเป็นสีเขียวมรกต มีสีเขียวอมฟ้า น้ำจืดที่ใสแจ๋วแหววต้องแสงแดด
จะส่งประกายระยิบระยับราวแก้วผลึก เป็นช่วงที่เหมาะกับการเดินชม ท่าปอม มากที่สุด
เนื่องจากมีสารละลายหินปูนหรือแคลเซี่ยมคาร์บอร์เนตและกำมะถันปนอยู่มาก
ที่มีคุณสมบัติในการจับตะกอนและสารแขวนลอยให้จมตัวเมื่อ สายน้ำ ไหลผ่านหินปูน
เจ้าสารตัวนี้ก็จะละลายปนมาพร้อมกับจับสารแขวนลอยไหลไปจมตัวในน้ำนิ่งน้ำในลำคลองท่าปอม จึงใสไหลเย็นมองเห็นตัวปลาและพืชใต้น้ำได้อย่างชัดเจนโดยบางช่วงใต้ท้องน้ำ
จะงดงามด้วยสีเขียวสดจากพืชใต้น้ำที่มองเห็น ได้อย่างถนัดตาส่วน
บางช่วงก็ดูเพลินตาด้วยฝูงปลาที่แหวกว่ายทวนสายน้ำที่ไหลเอื่อยๆ
จากการที่น้ำทะเลขึ้นและลงทำให้ท่าปอม ที่เป็นทั้งคลองน้ำจืด
และคลองน้ำเค็มกลายเป็นป่าพรุ ในอดีตนั้นท่าปอม เป็นป่าพรุ รกทึบ
มีต้นไม้แน่นเต็มไปหมด พื้นที่ดินเต็มไปด้วยรากไม้ มีพื้นที่ 300 ไร่ ยากต่อการเข้าถึง จนกลายเป็นระบบนิเวศเล็กๆ แบบป่าพรุน้ำจืด
แบบพื้นที่ชุ่มน้ำ แบบป่าดิบ และแบบป่าชายเลน อันชวนพิศวง
จึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “ท่าปอม
คลองสองน้ำ” นอกจากจะเป็นรอยต่อของ 2 น้ำแล้ว
ยังทำให้เกิดจุดบรรจบของ 3 ป่าอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน คือ ป่าโกงกาง
พังกาหัวสุม และไม้พืชป่าชายเลนอยู่ร่วมกับชมพู่น้ำ
ไม่ป่าพรุอย่างกลมกลืน โดยมีหลาวชะโอน ไม้ป่าดิบชื้น
ถือว่าเป็นป่าชายเลนที่มีความเป็นมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง
เป็นแหล่งศึกษาเชิงนิเวศวิทยา
เพื่อเรียนรู้ความสมบูรณ์ของธรรมชาติทั้งในแง่ของทางน้ำใต้ดิน
และพืชพรรณที่สามารถเติบโต ได้ทั้ง ในน้ำและบนดิน คลองสองสายน้ำมีลักษณะพิเศษ
ของระบบนิเวศ ที่ในช่วงขึ้น 12 ค่ำไปจนถึง แรม 5 ค่ำ คนสมัยก่อนเชื่อว่าท่าปอมเป็นป่าอาถรรพ์ ดินแดนพิศวง
หรือดินแดนต้องห้าม เต็มไปด้วยเรื่องราวอาถรรพณ
มีจระเข้เผือกเป็นสัตว์ของเจ้าป่าคอยดูแลป่าท่าปอม
ซึ่งเป็นสัตว์ของเจ้าที่เจ้าป่าคอยปกปักรักษาไว้ หากใครล่วงละเมิด
ฝ่าฝืนจะเกิดอาเพศ กระทั่งต้องมีอันเป็นไป และหากไม่จำเป็นจริงๆแล้ว ชาวหนองจิกจะห้ามลูกหลานว่าอย่าเข้าไปใกล้
แต่หากต้องไปตักน้ำจืดมาบริโภคในหน้าแล้ง หรือไปลงเรือหาปลา หาอาหารในที่แห่งนี้
ก็อย่าเอาอาหารที่มีเนื้อหมูเข้าไปใกล้ และหากจะลงอาบน้ำ
ก็ต้องเว้นวันเสาร์และวันอังคาร แม้จะไม่มีใครอธิบายเหตุผลได้ว่าทำไม
แต่ก็ดูเหมือนไม่มีใครอยากฝ่าฝืน จะมีก็แต่พวกวัยรุ่นบางกลุ่มเท่านั้น
ที่หาญกล้าอาศัยความรกเรื้อของป่าพรุท่าปอมเป็นแหล่งมั่วสุม จึงไม่มีใครกล้าเข้ามา
แต่ด้วยความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ช่วยกันดูแลปกปักรักษาป่าไว้
จนกระทั่งเมื่อ 130 กว่าปีที่แล้ว
มีโต๊ะครูปอม (โต๊ะครู คือครูสอนศาสนาอิสลาม
ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี)
เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่แล้วตั้งชื่อป่าพรุแห่งนี้ว่า “พรุท่าปอม”
ตามชื่อของโต๊ะครู
จากนั้นก็เริ่มมีชาวบ้านเข้ามาทำมาหากินจนกลายเป็นชุมชนเขาครามพอเริ่มมีคนอยู่อาศัยมากขึ้น
และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาดูความมหัศจรรย์ของท่าปอม คลองสองน้ำ เป็นจำนวนมากขึ้น
ทาง อบต. เขาครามโดยการสนับสนุนงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นสะพานไม้ยกระดับ 2 เมตรจากพื้นดิน ทำเป็นวงรอบพื้นที่ป่า
ลักษณะเป็นสะพานไม้ที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
ทอดยาวเป็นวงรอบเหนือผืนป่าพรุและป่าชายเลน ระยะทาง 700 เมตร
และจัดเจ้าหน้าที่ดูแล มีลำคลองน้ำใส รากไม้คดเคี้ยว แตกแขนงแผ่กว้าง
และปลาน้ำจืดปลาน้ำเค็ม ที่สลับกันมาว่ายเวียนหาอาหาร เป็นที่งดงามและหาดูได้ยาก หากเดินทวนกระแสน้ำท่าปอมขึ้นไป
จนถึงเขตหวงห้าม จะพบสระน้ำสีไพลินกลางป่าเขียว เรียกว่าแอ่งท่าปอม
หากเดินต่อไปอีก 500 เมตร จะพบแอ่งน้ำลักษณะเดียวกัน
เรียกว่า สระน้ำช่องพระแก้ว สามารถเที่ยวชมคลองสองน้ำได้ตลอดทั้งปี
ควรเที่ยวชมในเวลาที่น้ำลงน้ำจะสวยใสมาก
เสน่ห์ของ ท่าปอม อีกอย่างหนึ่งคือ
รากไม้ให้ชวนมองอยู่ทั่วไปตามริมตลิ่งสองฝั่งคลองโดยรากของต้นไม้หลาย
ประเภทจะปรับตัวด้วยการโผล่รากขึ้นมาหายใจ
ในลักษณะเลาะเลี้ยวเคี้ยวโค้งเกี่ยวกวัดรัดกันไปมา ดูสวยงาม แปลกตาน่ามอง
โดยรากของตนไม้ที่พบมากก็เห็นจะหนีไม่พ้นรากของต้นชมพู่น้ำ
ซึ่งต้นไม้ชนิดนี้ใช่แค่มีราก ที่มีเสน่ห์ แต่ว่า
ยามที่ชมพู่น้ำออกดอกก็มีเสน่ห์ไม่แพ้กัน
เพราะว่าแต่ว่าดอกของชมพู่น้ำที่มีช่อสั้นๆมีเกสร ตัวผู้
สีขาวนวลดูเล็กฝอยฟูฟ่องนั้นงามไม่เบาทีเดียวโดยเพาะยามที่ดอกชมพู่น้ำร่วง
หล่นลงไปลอยในสายน้ำดูพลิ้วไหว นั้นน่าชมมากๆและพวกรากไม้ต่างๆนี่แหละที่ถือเป็นจุดเกาะยึดอย่างดีของคนที่
ลงไปเล่นน้ำ ซึ่งทาง อบต.
เขาครามเปิดบางช่วงให้นักท่องเที่ยวลงไปแหวกว่ายเล่นน้ำได้
แต่ว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ส่วนใครที่อยากสัมผัสกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติแห่งป่าท่าปอมในความรู้สึก
ที่แตกต่างไปจากการเดิน ชมบนสะพาน
ก็สามารถพายเรือแคนูชมความงามของคลองสองน้ำและป่าท่าปอมได้
อ้างอิง
ข้อมูล http://www.dekguide.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น